ผู้เขียน หัวข้อ: โรคมะเร็งปอด ภัยร้ายใกล้ตัว ตรวจพบเร็วให้ผลการรักษาที่ดี  (อ่าน 63 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 233
    • ดูรายละเอียด
โรคมะเร็งปอด ภัยร้ายใกล้ตัว ตรวจพบเร็วให้ผลการรักษาที่ดี

มะเร็งปอด สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งในประเทศไทย ส่วนมากผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในระยะต้นจะไม่ค่อยมีอาการแสดง และจะมาพบแพทย์ก็เมื่อมีอาการที่บ่งบอกถึงมะเร็งมีการแพร่กระจายหรือเจริญเติบโตมากขึ้นแล้ว ทำให้โอกาสที่จะเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดสูงมาก อย่างไรก็ตาม มะเร็งปอดหากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจะทำให้มีผลการรักษาที่ดี และด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้สามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะเริ่มต้นและระยะแพร่กระจาย ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


มะเร็งปอดเกิดจากอะไร

มะเร็งปอด (Lung Cancer) เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย โดยความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง โดยมาเร็งปอดสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่

    มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) ส่วนใหญ่พบบริเวณใกล้ขั้วปอดมากกว่าบริเวณชายปอด เป็นชนิดมะเร็งที่แพร่กระจายเร็วและอาจสร้างสารเคมีบางอย่าง ทำให้เกิดการผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ (ฮอร์โมน) ในร่างกายได้ ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งพบได้ประมาณ 10-15% ส่วนมากจะตอบสนองต่อการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดและฉายรังสี
    มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) พบได้ประมาณ 85-90% เป็นชนิดที่มีการแพร่กระจายได้ช้ากว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก และสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองออก หากพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด

    บุหรี่ จัดเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดถึงร้อยละ 80 - 90 การสูบบุหรี่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์หลอดลม ทำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้
    ควันบุหรี่มือสอง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ แต่การได้รับควันบุหรี่มือสอง มือสาม จากการสูดหายใจเข้าไปจะทำให้มีสารพิษตกค้างซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งได้
    สารพิษ การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย อาทิ การสัมผัสสารแอสเบสตอส หรือแร่ใยหิน ซึ่งใช้ในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น ฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรค คลัช การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ
    มลภาวะทางอากาศ ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนหรือ PM2.5 ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้เช่นกัน
    โรคปอด ผู้ที่เคยมีแผลเป็นของโรคที่ปอด เช่น วัณโรคปอด ถุงลมโป่งพอง มีโอกาสเสี่ยงเกิดมะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลทั่วไป
    ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุที่มากขึ้น การใช้สารเสพติดบางประเภท เช่น โคเคน ภาวะขาดวิตามินเอ พันธุกรรม อาจมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งปอดได้


อาการของมะเร็งปอด

มะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น มักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคแพร่กระจาย แล้วมักมีอาการแสดง ที่สามารถสังเกตได้ดังนี้

    อาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่
        อาการไอเรื้อรัง โดยไอแห้งหรือไอมีเสมหะก็ได้
        อาการไอมีเลือดปน
        หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด หายใจสั้น
        เจ็บบริเวณหน้าอกเวลาหายใจ
        มีการติดเชื้อในปอดบ่อยๆ เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ
    อาการที่เกี่ยวเนื่องกับระบบอื่นๆ ของร่างกาย ได้แก่
        น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
        เสียงแหบ
        มีอาหารบวมที่หน้า คอ แขน และทรวงอก
        กลืนลำบาก
        ปวดกระดูก

ทั้งนี้อาการเหล่านี้ อาจเกิดจากโรคอื่นๆ ของปอด หรือไม่ได้เกิดที่ปอดได้เช่นกัน จึงไม่ใช่อาการของมะเร็งปอดเสมอไป ผู้ที่มีอาการดังกล่าวควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุอย่างแท้จริง


การตรวจวินิจฉัย

หากมีอาการที่เข้าข่ายของโรคมะเร็งปอด แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจเสมหะ เอกซเรย์ปอด หากพบความผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อเป็นการยืนยันด้วยวิธีอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่

    การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ (biopsy) เช่น การใช้เข็มขนาดเล็กตัดชิ้นเนื้อ การใช้เข็มเจาะช่องเยื่อหุ้มปอดแทงผ่านผนังทรวงอก การส่องกล้องตรวจภายในหลอดลม การตรวจช่องกลางทรวงอกโดยการส่องกล้อง และการตรวจช่องทรวงอกโดยการส่องกล้อง
    การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี ได้แก่ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และการตรวจด้วยเครื่อง Positron Emission Tomography (PET Scan)
    การตรวจยีนกลายพันธุ์ของมะเร็งจากชิ้นเนื้อ หรือเลือด หากมียีนกลายพันธุ์ที่สามารถรักษาด้วยการใช้ยารักษาแบบเฉพาะเจาะจงยีนจะทำให้กำจัดเซลล์มะเร็งได้ตรงจุด


ระยะของมะเร็งปอด

    ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ ดังนี้
        ระยะจำกัดของขนาดมะเร็ง (limited stage) เป็นระยะที่มะเร็งจะอยู่ในบริเวณปอดเท่านั้น
        ระยะการแพร่กระจาย (extensive stage) เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย
    ระยะของมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
        ระยะที่ 1 เป็นระยะที่พบว่ามีมะเร็งขนาดเล็กกว่า 5 ซม.อยู่ในปอดเท่านั้น ไม่พบในต่อมน้ำเหลือง ยังไม่มีการแพร่กระจาย ระยะนี้จะไม่มีอาการแสดง
        ระยะที่ 2 มะเร็งมีขนาดมากกว่า 5 ซม. และพบว่ามีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก ผนังทรวงอก โดยในระยะที่ 1 และ 2 สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดนำก้อนมะเร็งออกจากร่างกาย
        ระยะที่ 3 พบมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง และแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่นๆ หรือลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้นๆ
        ระยะที่ 4 มะเร็งกระจายตัวไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง เป็นต้น

ซึ่งระยะของมะเร็งปอดนั้นมีความสำคัญต่อการรักษา เพราะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษา และหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม


การรักษามะเร็งปอด

    การผ่าตัด (Surgery) จะใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ในระยะที่ 1 และ 2 เพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมดก็ได้
    การฉายรังสี (Radiotherapy) จะใช้เฉพาะจุดเพื่อควบคุมการลุกลาม และใช้เป็นการรักษาเสริมหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยระยะที่ 3 ที่มีข้อบ่งชี้เพื่อเพิ่มผลการควบคุมโรคที่ดี แต่จะไม่ได้ผลกับระยะมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ โดยการใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น
    ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการใช้ยากำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกาย โดยการฉีดหรือผสมสารละลายหยดเข้าไปทางหลอดเลือด ซึ่งตัวยาจะผ่านเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดและเข้าสู่เซลล์มะเร็งทางเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง
    การรักษาแบบยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) เป็นการรักษาโดยการใช้ยารับประทานที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ ให้ประสิทธิผลในการรักษาและไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียง

 มะเร็งปอด หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นสามารถรักษาได้ หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่จัด มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ทำงานใกล้ชิดกับสารเคมี หรือสารก่อมะเร็ง เป็นต้น ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด และหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้การรักษามะเร็งมีประสิทธิผลมากที่สุดนั้น การได้รับการตรวจหาการกลายพันธุ์ในเซลล์มะเร็งของผู้ป่วยด้วยการตรวจยีนมะเร็งร่วมด้วย จะช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยสามารถร่วมกันวางแผนการรักษา และเลือกยารักษาได้อย่างเหมาะสม

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว ลงโฆษณาฟรี google