ผู้เขียน หัวข้อ: เมาค้าง รู้จักสัญญาณอาการ และวิธีแก้เมาค้างอย่างได้ผล  (อ่าน 71 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 303
    • ดูรายละเอียด
เมาค้าง (Hangover) คือกลุ่มอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โดยอาการเมาค้างอาจเกิดขึ้นเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดลดลง ซึ่งอาจตรงกับช่วงเช้าอีกวันหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักในคืนก่อน โดยอาการเมาค้างไม่เป็นอันตราย และอาจดีขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป

นอกจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะก่อให้เกิดอาการเมาค้างแล้ว การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากบ่อยครั้งยังอาจนำไปสู่การเสพติดแอลกอฮอล์ (Alcohol Addiction) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและความสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากอาการเมาค้างมีอาการรุนแรง หรือมีสัญญาณของอาการเสพติดแอลกอฮอล์ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาต่อไป


รู้จักสัญญาณของอาการเมาค้าง

เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเพิ่มขึ้นและเกิดอาการมึนเมาตามมา แต่เมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดลดลง อาจส่งผลให้เกิดอาการเมาค้างขึ้น โดยอาการเมาค้างมักเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในตอนกลางคืน

โดยผู้ที่มีอาการเมาค้างอาจมีอาการดังนี้

    ปวดศีรษะ และกล้ามเนื้อตามร่างกาย
    คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง
    กระหายน้ำ ปากแห้ง
    ตัวสั่น อ่อนเพลียอย่างมาก
    นอนหลับไม่สนิท
    เวียนศีรษะ หรือรู้สึกว่าสิ่งรอบตัวหมุนไปมา
    ไม่มีสมาธิจดจ่อ ไวต่อแสงและเสียง
    อารมณ์ไม่มั่นคง เช่น รู้สึกซึมเศร้า กังวล หรือหงุดหงิดกวนใจ
    ชีพจรเต้นเร็ว

ทั้งนี้ หากเกิดอาการเมาค้างที่รุนแรงอาจเป็นสัญญาณของภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยตัวอย่างอาการเมาค้างที่รุนแรง เช่น สับสนมึนงง อาเจียน การหายใจผิดปกติ ชัก ตัวเขียวหรือผิวซีด อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ หมดสติและไม่ฟื้นขึ้นมา ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้


สาเหตุของอาการเมาค้าง

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการเมาค้างคือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งแอลกอฮอล์อาจส่งผลให้การทำงานของร่างกายผิดปกติและเกิดอาการเมาค้างได้ โดยปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่อาการเมาค้างมีดังนี้

    ร่างกายผลิตน้ำปัสสาวะมากขึ้น แอลกอฮอล์อาจกระตุ้นร่างกายให้ผลิตน้ำปัสสาวะมาก ทำให้ผู้ดื่มต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติจนอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ เช่น กระหายน้ำ เวียนศีรษะ และมึนศีรษะ
    การอักเสบของร่างกาย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดอาจทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ และส่งผลต่อสารสื่อประสาทที่อยู่ในสมอง ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความอยากอาหารลดลง หรือรู้สึกเบื่อกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นปกติ
    การระคายเคืองผนังกระเพาะอาหาร ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์อาจกระตุ้นการสร้างกรดในกระเพาะอาหารให้เพิ่มขึ้น รวมทั้งทำให้ย่อยอาหารได้ยาก ซึ่งส่งผลให้ผู้ดื่มมักปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน
    ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ตัวสั่น อารมณ์แปรปรวน รวมทั้งเกิดอาการชักขึ้นได้
    หลอดเลือดขยาย หากหลอดเลือดในร่างกายขยายออกอันเป็นผลจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ผู้ดื่มรู้สึกปวดศีรษะได้
    นอนหลับไม่เพียงพอ เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลต่อสารสื่อประสาท ทำให้ผู้ดื่มอาจนอนหลับไม่สนิท หรือนอนหลับไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดอาการเพลีย เดินเซ และเหนื่อยล้า


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อาการเมาค้างรุนแรงขึ้น

เนื่องจากยีนของแต่ละคนอาจส่งผลต่อการดูดซึมแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางรายจึงอาจเกิดอาการเมาค้างอย่างรุนแรงมากกว่าผู้ดื่มรายอื่น

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการเมาค้างอย่างรุนแรงอีก เช่น

การดื่มแอลกอฮอล์ตอนท้องว่าง
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตอนท้องว่างจะทำให้กระเพาะอาหารดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าร่างกายได้เร็วขึ้น และทำให้เกิดอาการเมาค้างได้

การใช้สารเสพติดร่วมด้วย
การใช้ยา สารเสพติดอย่างอื่น หรือสูบบุหรี่ระหว่างดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการเมาค้างแย่ลงกว่าเดิม

บุคคลในครอบครัวป่วยเป็นพิษสุราเรื้อรัง
ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง โดยเฉพาะบุคคลนั้นมีความใกล้ชิดทางสายเลือดกับตนเองมาก อาจทำให้ผู้ดื่มเกิดอาการเมาค้างรุนแรงได้

การดื่มเครื่องดื่มสีเข้ม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สีเข้ม เช่น เตกีลา บรั่นดี วิสกี้ เบียร์ที่มีสีเข้ม เบียร์ที่มีแอลกอฮอล์สูง และไวน์แดง มักผสมคอนจีเนอร์ (Congener) เพื่อปรุงแต่งสีและกลิ่นของเครื่องดื่มในปริมาณมาก โดยคอนจีเนอร์อาจทำให้ผู้ดื่มเกิดอาการเมาค้างอย่างรุนแรงได้มากกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สีใสอื่น ๆ เช่น เบียร์ ไวน์ขาว เหล้ายิน หรือวอดก้า

อย่างไรก็ตาม การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดสามารถทำให้ผู้ดื่มเกิดอาการเมาค้างได้หากดื่มมากเกินไป


วิธีบรรเทาอาการเมาค้างให้ดีขึ้น

หากเกิดอาการเมาค้าง สามารถดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น

    จิบน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
    รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ เช่น ยาไอบูโพรเฟน ยาแอสไพริน ควรหลีกเลี่ยงยาพาราเซตามอล เพราะการกินยาชนิดนี้ในขณะที่มีแอลกอฮอล์หลงเหลือในร่างกาย อาจเป็นอันตรายต่อตับได้
    รับประทานอาหารที่มีรสจืดและย่อยง่าย แต่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ลดอาการคลื่นไส้ และฟื้นฟูกระเพาะอาหารให้กลับมาทำงานได้ปกติ เช่น กล้วย ข้าว ขนมปัง
    นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยอาการเมาค้างอาจหายไปเมื่อตื่นขึ้นมา
    ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่ม เนื่องจากจะยิ่งเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายให้มากขึ้น และทำให้สร่างเมาช้าลงกว่าเดิม

อาการเมาค้างมักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ และอาจดีขึ้นได้เองเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากมีสัญญาณของอาการแอลกอฮอล์เป็นพิษ หรือมีอาการเมาค้างร่วมกับปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เพราะอาจเสี่ยงโรคภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้
แนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดอาการเมาค้าง

การดื่มถือเป็นวัฒนธรรมที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ โดยผู้คนมักดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อสังสรรค์หรือเฉลิมฉลองในโอกาสสำคัญต่าง ๆ แต่หากดื่มมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการเมาค้างในเช้าวันต่อมาได้ ซึ่งผู้ดื่มสามารถป้องกันอาการเมาค้างได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น

    รับประทานของกินเล่นหรืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต หรือไขมันรองท้องก่อนและไม่ดื่มตอนท้องว่าง อาจช่วยให้ร่างกายชะลอการดูดซึมแอลกอฮอล์ได้
    งดหรือจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และไม่ควรดื่มเยอะเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้อาจนำไปสู่อาการเมาค้างได้
    ดื่มให้ช้าลง โดยดื่มเพียงหนึ่งแก้วหรือในปริมาณที่น้อยกว่านั้นในแต่ละชั่วโมง
    เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สีเข้ม เลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีสีใส เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สีเข้มมีส่วนผสมของคอนจีเนอร์มาก ส่งผลให้ผู้ดื่มเกิดอาการเมาค้างอย่างรุนแรง
    ดื่มน้ำเปล่าหนึ่งแก้วทุกครั้งหลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนึ่งอึก หรือจะผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับเครื่องดื่มอื่น ๆ ก็อาจช่วยให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้น้อยลง ทั้งนี้ น้ำเปล่าอาจช่วยให้ผู้ดื่มไม่เกิดภาวะขาดน้ำอีกด้วย
    งดสูบบุหรี่ระหว่างดื่ม เนื่องจากอาจทำให้นอนไม่หลับ และอาจทำให้อาการเมาค้างแย่ลง



เมาค้าง รู้จักสัญญาณอาการ และวิธีแก้เมาค้างอย่างได้ผล อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว ลงโฆษณาฟรี google