ผู้เขียน หัวข้อ: ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: ชุดตรวจโควิด ATK เลือกซื้ออย่างไรดี?  (อ่าน 91 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 232
    • ดูรายละเอียด
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: ชุดตรวจโควิด ATK เลือกซื้ออย่างไรดี?

ตรวจโควิด-19 RT-PCR vs ATK ต่างกันอย่างไร?

Antigen Test Kit หรือ ATK เป็นการตรวจหาเศษส่วนของเชื้อ โดยชุดตรวจ ATK นี้เราสามารถตรวจเองได้ที่บ้าน โดยมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีการ Swab จมูก, Swab คอ และชุดตรวจแบบน้ำลาย เลือกซื้อแบบไหนถึงจะมั่นใจ ได้คุณภาพ?


ข้อแนะนำในการเลือกชื้อชุดตรวจโควิด ATK

ให้ใช้ชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานตามที่ WHO แนะนำ โดยควรใช้ชุดตรวจที่ระบุไว้ข้างกล่องว่าเป็นวิธี Lateral Flow Technique (LTF) วิธีนี้มีความแม่นยำ 60-90% ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อของชุดทดสอบ
ควรเลือกชุดตรวจ ATK ที่ระบุว่า สำหรับตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง หรือบุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้ (Home use/Self-test)
มีเลขอย. กำกับ รูปของผลิตภัณฑ์ต้องตรงกับข้อมูลการอนุญาตของ อย.
ตรวจข้อมูลการอนุญาตจาก อย. ด้วยเลขที่ใบรับรองประเมินเทคโนโลยี T 6400xxx
ซื้อจากแหล่งขายที่น่าเชื่อถือ  ตรวจสอบที่มาที่ไปได้ เช่น โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา ร้านขายเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น
ชุดตรวจ ATK ควรมีค่าความไว (Sensitivity) และค่าความจำเพาะ (Specificity) ไม่ต่ำกว่า 90% เพื่อลดโอกาสการเจอผลลวง ยิ่งค่าสูงมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเจอผลบวกลวงและผลลบลวงก็จะน้อยลง
ตรวจสอบวันหมดอายุของชุดตรวจ ATK ต้องไม่หมดอายุ


วิธีตรวจหาเชื้อโควิดโดย Antigen Test Kit (ATK) ด้วยตัวเอง

ทำความรู้จัก Antigen Test Kit

Antigen Test Kit – ATK หรือชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน ด้วยการ Swab เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งทางจมูก ลึกถึงคอ หรือเก็บจากคอ สามารถทำได้เองที่บ้าน การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งการหาซื้อชุดตรวจ Antigen Test Kit นั้น ควรซื้อชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานจากอย. เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และควรตรวจสอบวันหมดอายุของชุดทดสอบก่อนทุกครั้ง  ไม่ควรเปิดหรือฉีกซองที่บรรจุ Antigen Test Kit จนกว่าจะถึงการทดสอบ


ใครบ้างที่ควรใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit

    ผู้ที่สัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ
    ผู้ที่เริ่มมีอาการสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19


ขั้นตอนการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดย Antigen Test Kit ด้วยตัวเอง

ก่อนตรวจหาเชื้อ COVID-19 ควรอ่านวิธีการใช้หรือคำแนะนำ Antigen Test Kit ให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนทุกครั้ง เนื่องจากชุดตรวจแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน  โดยการใช้งานเบื้องต้นมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้

    เคลียร์จมูก สั่งน้ำมูก (ถ้ามี) ก่อนทำการ Swab
    ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล
    ใช้ไม้ SWAB ที่มาพร้อมชุดตรวจ เก็บสารคัดหลั่งจากโพรงจมูก เงยหน้าขึ้นนิดหนึ่ง จากนั้นแยงเข้าไปในโพรงจมูกช้า ๆ แยงเข้าไปลึกประมาณ  2- 2.5 ซม. หรือ 1 นิ้ว หมุนเบา ๆ 5 รอบ
    แยงจมูกอีกข้าง โดยทำเหมือนข้างแรก หมุนเบา ๆ 5 รอบ
    เมื่อเก็บสารคัดหลั่งเสร็จแล้ว นำไม้ SWAB ลงไปเก็บในหลอดที่มีน้ำยาสกัดหรือน้ำยา Test  จากนั้นหมุนไม้ SWAB  5 ครั้ง เพื่อให้สารคัดหลั่งสัมผัสกับน้ำยามากที่สุด  จากนั้นนำไม้ SWAB ออกและปิดด้วยจุกฝาหลอดหยด
    ตลับทดลองจะมีหลุม  เพื่อให้สามารถหยอดน้ำยาได้  โดยให้หยอดน้ำยาลงในตลับทดสอบตามจำนวนที่ชุดตรวจกำหนด (ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อชุดตรวจ) และเมื่อหยอดเสร็จแล้วน้ำยาจะไหลไปตามแผ่นกรองที่อยู่ด้านใต้
    รออ่านผล ประมาณ 15-30 นาที (ห้ามอ่านผลก่อนหรือหลังเวลาที่กำหนด)

หมายเหตุ

    ควรอ่านตามเวลาที่ Antigen Test Kit ระบุไว้ เพื่อไม่ให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนและเกิดความผิดพลาด
    ห้ามเอามือไปจับบริเวณที่ต้องใช้เก็บสิ่งส่งตรวจเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อน เนื่องจากจะมีเชื้อโรคจากมือปนเปื้อนลงไป
    ห้ามแยงแรงจนเลือดออก เพราะหากมีเลือดจะไม่มาสามารถยืนยันผลตรวจได้ ต้องรอให้แผลหายและทำการทดสอบใหม่

วิธีการอ่านผลตรวจและแปรผลทดสอบ

ผลบวก ติดเชื้อโควิด-19

ปรากฏแถบสีแดง ทั้งทีแถบทดสอบ (T) และแถบควบคุม(C) = ติดเชื้อ

(สีที่ต่างกันหรือสีเพื้ยน อาจเกิดจากการเก็บ ซึ่งไม่มีผลต่อการทดสอบแต่อย่างใด)

ผลลบ ไม่ติดเชื้อโควิด-19

ปรากฏเฉพาะแถบควบคุม (C )

ผลที่ใช้งานไม่ได้

ไม่ปรากฏแถบอะไรเลย ชุดตรวจอาจมีปัญหา แนะนำให้ทำการทดสอบซ้ำอีกครั้ง

การปฏิบัติตัวหลังทราบผลตรวจ กรณีผลการทดสอบเป็นบวก

แนะนำให้ทำการทดสอบ RT-PCR ซ้ำ  เพื่อยืนยันผลอีกที เนื่องจากชุดตรวจ Antigen Test Kit เป็นการคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น  และควรดำเนินการติดต่อหน่วยงานบริการใกล้บ้าน เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือสถานพยาบาล เป็นต้น เพื่อทำการประเมินอาการและดำเนินการรักษาในขั้นต่อไป 


การปฏิบัติตัวหลังทราบผลตรวจ กรณีผลการทดสอบเป็นลบ

กรณีที่ผลตรวจแสดงออกมาเป็นลบ ไม่ได้หมายความว่าไม่ติดเชื้อเสมอไป โดยผู้ตรวจควรประเมินความเสี่ยงของตัวเองว่าอยู่ในกลุ่มที่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงไหม เพราะเชื้อไวรัส COVID-19 จะมีระยะฟักตัวยาวถึง 14 วัน เพื่อความแน่ใจควรทำการแยกกักตัวและตรวจหาเชื้ออีกครั้งภายหลังจากวันทดสอบวันแรกประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าช่วงระหว่างกักตัว มีอาการผิดปกติ เช่น ไข้ขึ้นสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส เจ็บคอ ไอ ก็สามารถตรวจซ้ำได้อีกครั้งเลยทันที

ข้อควรระวัง!

    อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจผลหาเชื้อ COVID-19 ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่เด็ดขาด
    หลังจากที่ตรวจหาเชื้อเสร็จแล้ว ควรทำการแช่น้ำยาฆ่าเชื้อและแยกชุดตรวจใส่ถุงปิดให้มิดชิดก่อนทิ้งขยะตามขั้นตอนการทิ้งขยะติดเชื้ออย่างถูกวิธี 
    ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังทำการตรวจหาเชื้อเพื่อความปลอดภัยต่อผู้อื่น กรณีที่ทำการตรวจ Antigen Test Kit ให้กับผู้อื่น ควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ชุด PPE ถุงมือ และหน้ากากอนามัย N95 ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อ

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว ลงโฆษณาฟรี google